ยุทธศาสตร์ สช. จังหวัดสตูล (พ.ศ.2560-2563)
ยุทธศาสตร์สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล (พ.ศ.2560-2563)
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่มุ่งสร้างผู้เรียน ให้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ควบคู่คุณธรรม นำทางสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1. ประสานการจัดทำแผน ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรมโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. พัฒนาศักยภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ และส่งเสริมสวัสดิภาพ สวัสดิการ ขวัญกำลังใจ
5. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
6. พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้เข้มแข็ง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
7. นิเทศ และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน สถาบันศึกษาปอเนาะ และศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและทักษะการแก้ปัญหาจนสามารถนำไปสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้
3. เพื่อพัฒนาระบบบริหารงานวิชาการให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4. เพื่อใช้หลักการปฏิบัติทางศาสนาในการสร้างคนดีและสังคมสงบสุข
5. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการสร้างงานอาชีพจนสามารถดำรงชีพได้ยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. สร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
2. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสันติสุข
3. การเรียนรู้เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
4. พัฒนากระบวนการจัดการและบริหาร
กลยุทธ์
1. สร้างสุขสนุกกับการเรียนรู้
2. พัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน และงานการศึกษา
3. พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
4. สร้างคนดีสู่สังคมสงบสุข
5. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
6. พัฒนาหลักสูตรทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
7. พัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
8. พัฒนาและจัดให้มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
9. พัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ
ตัวชี้วัด / เป้าหมาย
1. โรงเรียนแห่งความสุข
ตัวชี้วัด จำนวนสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
2. การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด จำนวนสถานศึกษาที่ปฎิรูปการบริหารงานวิชาการ
3. หลักสูตรทักษะการคิดและทักษะการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น
4. ผู้เรียนนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้เรียนที่นำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ผู้เรียนสามารถสร้างงานอาชีพในท้องถิ่นได้
ตัวชี้วัด จำนวนโครงงานการสร้างอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง